วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

การประเมิน


รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์
                ไทเลอร์เป็นผู้ริเริ่มให้คำนิยามการศึกษาว่า การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม”  ดังนั้น  การประเมินหลักสูตรจึงเป็นการเปรียบเทียบว่าพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่  โดยการศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบของกระบวนการจัดการศึกษา  3  ส่วน  คือ
1.             จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3.             การตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน
รูปแบบการประเมินหลักสูตรองไทเลอร์มีข้อจำกัดอยู่คือ  รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบนี้จะใช้กับหลักสูตรที่วางแผนไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค
                เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก  สเตคได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่าเป็นการบรรยายและตัดสินคุณค่าของหลักสูตร  ซึ้งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมินโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินคุณค่า สเตคจึงเห็นว่าข้อมูลที่ควรจะพิจารณาในการประเมินเห็นว่าหลักสูตรมี  3  ด้าน  คือ
1.             ด้านสิ่งที่มาก่อน
2.             ด้านกระบวนการเรียนการสอน
3.             ด้านผลผลิต
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม
1.             การประเมินบริบท  เพื่อให้ได้ขอมูลการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยวิเคราะห์หรือสภาวะแวดล้อม  เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ต่างๆ ของหลักสูตร
2.             การประเมินปัจจัยตัวป้อน  เป็นการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรซึ่งได้แก่  ปัจจัยด้านบุคลากร  นักเรียน  อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  ฯลฯ
3.             การประเมินกระบวนการ  เป็นการประเมินหลักสูตรในขั้นปฏิบัติการหรือประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรเพื่อตรวจสอบดูว่ากิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ของการใช้หลักสูตรในสภาพที่เป็นจริงอย่างไร มีปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือไม่
4.             การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรโดยตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model)
1.             การประเมินบริบท  เพื่อให้ได้ขอมูลการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยวิเคราะห์หรือสภาวะแวดล้อม  เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ต่างๆ ของหลักสูตร
2.             การประเมินปัจจัยตัวป้อน  เป็นการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรซึ่งได้แก่  ปัจจัยด้านบุคลากร  นักเรียน  อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  ฯลฯ
3.             การประเมินกระบวนการ  เป็นการประเมินหลักสูตรในขั้นปฏิบัติการหรือประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรเพื่อตรวจสอบดูว่ากิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ของการใช้หลักสูตรในสภาพที่เป็นจริงอย่างไร มีปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือไม่
4.             การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรโดยตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
ทฤษฎีเหล่านี้ส่งผลต่อการประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดย การประเมินแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1.Formative (formative evaluation) คือ การประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2. Summative (summative evaluation) คือ การประเมินเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณภาพผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

อ้างอิงจาก http://oc.md.kku.ac.th/thai/tech/news/index-eval.htm

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้: SOLO Taxonomy


SOLO มาจาก Structure of Observed Learning Outcomes คือ โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
SOLO Taxonomy จะแตกต่างจาก Bloom Taxonomy เพราะว่าการกำหนดระดับผลการศึกษาของผู้เรียนนั้น ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจ และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญบางอย่างไป
2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น ทำตามคำสั่งง่ายๆได้ จำได้ ระบุได้
3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การที่สามารถบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล หรือนำไปใช้ได้
5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น



อ้างอิงจากhttp://www.slideshare.net/didau/introduction-to-solo-taxonomy

กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)


กลุ่มทฤษฏีการเรียนรู้
1.Behaviorism
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   พฤติกรรม”  มากเพราะ พฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้
หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         การเสริมแรงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น
·         การเรียนรู้ด้วยการให้รางวัลดีกว่าการเรียนรู้ที่มาจากการลงโทษ
                2. Cognitivism
ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง
หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         การเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในสิ่งแวดล้อมให้ผลสำเร็จมากที่สุดครูสามารถปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้
·         นักเรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุด  เมื่อนักเรียนสามารถสรุปข้อมูล  นั่นก็คือ  เรียนรู้จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย

3. Humanism
นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง  (child-centered)
4. Constructivism
                เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้  ซึ่งอธิบายถึงกระบวนการภายในทางจิตวิทยา ในกระบวนการนี้แต่ละบุคคล จะทำการตรวจสอบสารสนเทศใหม่ที่รับเข้ามากับ สารสนเทศอันเป็นกฏระเบียบหรือความรู้ที่มีอยู่เดิม เท่ากับเป็นการทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิม เมื่อพบว่ามีความแตกต่างปรากฏชัด จะนำไปสู่ความเข้าใจใหม่ หรือคือการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นจากความเป็นจริงในตัวเอง
                หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีที่ต่าง ๆ กัน  โดยอาศัยประสบการณ์เดิม  โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ ความสนใจ  และแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น 





อ้างอิงจาก  www.maceducation.com


เนื้อหาหลักสูตร (Curriculum Content): Instructional Design, Curriculum Based Assessment


หลักสูตรที่ เน้นผู้ เรียนเป็นสําคัญ
หลักสูตรที่ เน้นผู้ เรียนเป็นสําคัญ(learner– centered designs)  เป็นหลักสูตรที่มองถึงประโยชน์ของผู้ เรียนเป็นสําคัญคํานึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนโดยหลีกเลี่ ยงหลักสูตรที่ เน้นเนื้ อหาวิชาเป็นตัวตั้ง  
1. หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (child – centered designs)
2. หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (experience – centered designs)
3. หลักสูตรแบบจิตนิยม (romantic /radical designs)
4. หลักสูตรมนุษยนิยม (humanistic designs)
หลักสูตรที่ เน้นเนื้ อหาวิชา(subject – centered designs) เป็นหลักสูตรที่เน้นความสําคัญของเนื้ อหาวิชา  การออกแบบหลักสูตรได้รั บอิทธิพลจากปรัชญาการศึกษา  คื อสารัตถะนิยม(essentialism) และ  นิ รันตรนิยม(perennialism)
จากภาพนั้น แสดงให้เห็นถึงความรู้ที่เด็กได้รับนั้นโดยความรู้ที่เด็กได้เรียนเป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันตามปรัชญา สารัจถะนิยม (essentialism)เด็กสามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข กลุ่มนี้จะเน้นที่ความรู้
แบ่งออกเป็น 4 แบบ
1.             หลักสูตรแบบรายวิชา(subject design)
2.             หลักสูตรแบบสาขาวิชา(discipline design)
3.             หลักสูตรหมวดวิชา(broad fields design)
4.             หลักสูตรสัมพันธ์วิ ชา(correlation design)
5.             หลักสูตรเน้นกระบวนการ(process design)
หลักสูตรที่ เน้นปัญหาสังคมเป็นสําคัญ
สามเหลี่ยมรูปนี้เน้นที่ สังคมหรือ Society สามเหลี่ยมในรูปนี้เป็นแนวปรัชญา Reconstructionism  หมายถึงการึกษาไม่ได้เป็นเรื่องของผู้คนแต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสําคัญ(problem – centered designs) เป็นการออกแบบหลักสูตรที่ยึ ดเอาภาระหน้าที่   หรือชีวิตภายในสังคม  สถานการณ์ในสังคมเป็นหลัก เป็นหลักสูตรที่ เน้นสภาพของสังคม  หรือปัญหาของสังคมเป็นตัวตั้ งในการจัดทําหลักสูตร
โดยต้องมีการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชนท้องถิ่นการออกแบบหลักสูตรจัดได้หลายประเภท ดังนี้
1.หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (life – situations designs)
2.หลักสูตรแกน (core designs) เรียกอีกชื่ อหนึ่ งว่า หลักสูตรเน้นภาระหน้าที่ ในสังคม (social function)
3.หลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิ รูปสังคม (social problems and Reconstructionist designs)
อ้างอิงจาก  http://pinayo-ci.blogspot.com/2010/11/blog-post.html

ความมุ่งหมาย (Aim), จุดหมาย(Goals) และจุดมุ่งหมาย(Objective)


ในการพัฒนาหลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง เพราะจะบอกถึงความมุ่งหวังว่าจะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใด  รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมและประสบการณ์เรียนรู้  รวมทั้งการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียน  การกำหนดต้องเหมาะสมสอดคล้องกับปรัชญาและค่านิยมของสังคม สภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและผู้เรียน 
จุดหมาย”  (Aims)  เป็นผลหรือคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
เป้าประสงค์” (Goals) ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับความมุ่งหมาย โดยเป้าประสงค์อาจหมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจากเรียนหลังจากเรยนได้ผู้เรียนจะเป็นเช่นไร
จุดมุ่งหมาย(Objective)  เป็นการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาการศึกษาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะได้รับ
                โดยขั้น กำหนดความมุ่งหมาย เป้าประสงค์และจุดหมายนี้อยู่นทฤษฎีขั้นที่ 1  ของไทเลอร์ คือ 1. กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร

อ้างอิงจาก  www.lamptech.ac.th

การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)


โบชอมป์(Beauchamp)ได้เสนอแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรในเชิงระบบ มีองค์ประกอบ
3 ส่วน ดังนี้
6.1 ปัจจัยนําเข้า (input) ได้แก่พื้นฐานการศึกษา สภาพชุมชน ประสบการณ์เกี่ ยวกั บ
หลักสูตร เนื้ อหาในสาขาต่าง ๆ และค่านิยมพื้นฐานทางสั งคม
6.2 กระบวนการ (process) ได้แก่ การเลือกบุคลากร วิ ธีดําเนินการเพื่ อกําหนด
เป้าหมายหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การนําไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร



6.3 ผลผลิต (output) ได้แก่ หลักสูตรที่เหมาะสมกั บผู้ เรียนในสังคมนั้น ๆ

ทฤษฏีหลักสูตรที่เรื่อง คือ ทฤษฎีของไทเลอร์
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์  แนวคิดในการพัฒนานั้นเริ่มต้นจากคำถามพื้นฐาน ๔ คำถามดังต่อไปนี้
                ๑.      จุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่สถานศึกษาต้องการ
                ๒.     ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถจัดได้และสนองตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
                ๓.     ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นจะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
๔.        จะประเมินได้อย่างไรว่าประสบการณ์การศึกษาที่จัดให้นั้นได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด   
โดยมีรูปแบบการพัฒนามี 3 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
                2. การเลือกประสบการณ์การเรียน : จัดลำดับ ก่อน-หลัง
 3. การประเมินผล
การพัฒนาหลักสูตรนั้น จะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพของสังคม พัฒนาการของผู้เรียน ความเหมาะสม มีการบูรณาการของประสบการต่างๆ มีการประเมินผลในขั้นสุดท้าย
อ้างอิงจากhttp://www.scphub.ac.th/new_ulib/dublin.php?ID=13399121301

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory)


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
    ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
    การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึงการจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
      1. ด้านพุทธิพิสัย  (Cognitive Domain)
      2. ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor Domain)
       3. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (remembering) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้
ความเข้าใจ (understanding)จเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
การประยุกต์ (Applying) เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
การวิเคราะห์ ( Analyzing) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
การประเมินค่า ( Evaluation)เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
การคิดอย่างสร้าสรรค์ (creative) มีการต่อยอดคิดอย่างสร้างสรรค์ต่อยอดความรู้ที่ได้เรียน
จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง  ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม  พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัยจะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
 1.การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎก  ารณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง ...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ... การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า

5. บุคลิกภาพ ... การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆจนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
 พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ  ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้

1.       การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.       กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.       การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4.      การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5.      การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
อ้างอิงจาก  http://www.gotoknow.org/posts/391886