วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

การประเมิน


รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์
                ไทเลอร์เป็นผู้ริเริ่มให้คำนิยามการศึกษาว่า การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม”  ดังนั้น  การประเมินหลักสูตรจึงเป็นการเปรียบเทียบว่าพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่  โดยการศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบของกระบวนการจัดการศึกษา  3  ส่วน  คือ
1.             จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3.             การตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน
รูปแบบการประเมินหลักสูตรองไทเลอร์มีข้อจำกัดอยู่คือ  รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบนี้จะใช้กับหลักสูตรที่วางแผนไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค
                เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก  สเตคได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่าเป็นการบรรยายและตัดสินคุณค่าของหลักสูตร  ซึ้งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมินโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินคุณค่า สเตคจึงเห็นว่าข้อมูลที่ควรจะพิจารณาในการประเมินเห็นว่าหลักสูตรมี  3  ด้าน  คือ
1.             ด้านสิ่งที่มาก่อน
2.             ด้านกระบวนการเรียนการสอน
3.             ด้านผลผลิต
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม
1.             การประเมินบริบท  เพื่อให้ได้ขอมูลการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยวิเคราะห์หรือสภาวะแวดล้อม  เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ต่างๆ ของหลักสูตร
2.             การประเมินปัจจัยตัวป้อน  เป็นการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรซึ่งได้แก่  ปัจจัยด้านบุคลากร  นักเรียน  อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  ฯลฯ
3.             การประเมินกระบวนการ  เป็นการประเมินหลักสูตรในขั้นปฏิบัติการหรือประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรเพื่อตรวจสอบดูว่ากิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ของการใช้หลักสูตรในสภาพที่เป็นจริงอย่างไร มีปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือไม่
4.             การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรโดยตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model)
1.             การประเมินบริบท  เพื่อให้ได้ขอมูลการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยวิเคราะห์หรือสภาวะแวดล้อม  เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ต่างๆ ของหลักสูตร
2.             การประเมินปัจจัยตัวป้อน  เป็นการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรซึ่งได้แก่  ปัจจัยด้านบุคลากร  นักเรียน  อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  ฯลฯ
3.             การประเมินกระบวนการ  เป็นการประเมินหลักสูตรในขั้นปฏิบัติการหรือประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรเพื่อตรวจสอบดูว่ากิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ของการใช้หลักสูตรในสภาพที่เป็นจริงอย่างไร มีปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือไม่
4.             การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรโดยตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
ทฤษฎีเหล่านี้ส่งผลต่อการประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดย การประเมินแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1.Formative (formative evaluation) คือ การประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2. Summative (summative evaluation) คือ การประเมินเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณภาพผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

อ้างอิงจาก http://oc.md.kku.ac.th/thai/tech/news/index-eval.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น