วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

การประเมิน


รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์
                ไทเลอร์เป็นผู้ริเริ่มให้คำนิยามการศึกษาว่า การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม”  ดังนั้น  การประเมินหลักสูตรจึงเป็นการเปรียบเทียบว่าพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่  โดยการศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบของกระบวนการจัดการศึกษา  3  ส่วน  คือ
1.             จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3.             การตรวจสอบสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน
รูปแบบการประเมินหลักสูตรองไทเลอร์มีข้อจำกัดอยู่คือ  รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบนี้จะใช้กับหลักสูตรที่วางแผนไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค
                เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก  สเตคได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่าเป็นการบรรยายและตัดสินคุณค่าของหลักสูตร  ซึ้งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมินโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินคุณค่า สเตคจึงเห็นว่าข้อมูลที่ควรจะพิจารณาในการประเมินเห็นว่าหลักสูตรมี  3  ด้าน  คือ
1.             ด้านสิ่งที่มาก่อน
2.             ด้านกระบวนการเรียนการสอน
3.             ด้านผลผลิต
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม
1.             การประเมินบริบท  เพื่อให้ได้ขอมูลการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยวิเคราะห์หรือสภาวะแวดล้อม  เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ต่างๆ ของหลักสูตร
2.             การประเมินปัจจัยตัวป้อน  เป็นการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรซึ่งได้แก่  ปัจจัยด้านบุคลากร  นักเรียน  อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  ฯลฯ
3.             การประเมินกระบวนการ  เป็นการประเมินหลักสูตรในขั้นปฏิบัติการหรือประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรเพื่อตรวจสอบดูว่ากิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ของการใช้หลักสูตรในสภาพที่เป็นจริงอย่างไร มีปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือไม่
4.             การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรโดยตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model)
1.             การประเมินบริบท  เพื่อให้ได้ขอมูลการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยวิเคราะห์หรือสภาวะแวดล้อม  เพื่อให้ได้ข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ต่างๆ ของหลักสูตร
2.             การประเมินปัจจัยตัวป้อน  เป็นการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรซึ่งได้แก่  ปัจจัยด้านบุคลากร  นักเรียน  อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  ฯลฯ
3.             การประเมินกระบวนการ  เป็นการประเมินหลักสูตรในขั้นปฏิบัติการหรือประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรเพื่อตรวจสอบดูว่ากิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ของการใช้หลักสูตรในสภาพที่เป็นจริงอย่างไร มีปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือไม่
4.             การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นเป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรโดยตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
ทฤษฎีเหล่านี้ส่งผลต่อการประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดย การประเมินแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1.Formative (formative evaluation) คือ การประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2. Summative (summative evaluation) คือ การประเมินเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณภาพผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

อ้างอิงจาก http://oc.md.kku.ac.th/thai/tech/news/index-eval.htm

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้: SOLO Taxonomy


SOLO มาจาก Structure of Observed Learning Outcomes คือ โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
SOLO Taxonomy จะแตกต่างจาก Bloom Taxonomy เพราะว่าการกำหนดระดับผลการศึกษาของผู้เรียนนั้น ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจ และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญบางอย่างไป
2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น ทำตามคำสั่งง่ายๆได้ จำได้ ระบุได้
3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การที่สามารถบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล หรือนำไปใช้ได้
5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น



อ้างอิงจากhttp://www.slideshare.net/didau/introduction-to-solo-taxonomy

กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)


กลุ่มทฤษฏีการเรียนรู้
1.Behaviorism
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   พฤติกรรม”  มากเพราะ พฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้
หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         การเสริมแรงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น
·         การเรียนรู้ด้วยการให้รางวัลดีกว่าการเรียนรู้ที่มาจากการลงโทษ
                2. Cognitivism
ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง
หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         การเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในสิ่งแวดล้อมให้ผลสำเร็จมากที่สุดครูสามารถปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้
·         นักเรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุด  เมื่อนักเรียนสามารถสรุปข้อมูล  นั่นก็คือ  เรียนรู้จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย

3. Humanism
นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง  (child-centered)
4. Constructivism
                เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้  ซึ่งอธิบายถึงกระบวนการภายในทางจิตวิทยา ในกระบวนการนี้แต่ละบุคคล จะทำการตรวจสอบสารสนเทศใหม่ที่รับเข้ามากับ สารสนเทศอันเป็นกฏระเบียบหรือความรู้ที่มีอยู่เดิม เท่ากับเป็นการทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิม เมื่อพบว่ามีความแตกต่างปรากฏชัด จะนำไปสู่ความเข้าใจใหม่ หรือคือการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นจากความเป็นจริงในตัวเอง
                หลักสูตรสำหรับจัดการเรียนรู้
·         นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีที่ต่าง ๆ กัน  โดยอาศัยประสบการณ์เดิม  โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ ความสนใจ  และแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น 





อ้างอิงจาก  www.maceducation.com


เนื้อหาหลักสูตร (Curriculum Content): Instructional Design, Curriculum Based Assessment


หลักสูตรที่ เน้นผู้ เรียนเป็นสําคัญ
หลักสูตรที่ เน้นผู้ เรียนเป็นสําคัญ(learner– centered designs)  เป็นหลักสูตรที่มองถึงประโยชน์ของผู้ เรียนเป็นสําคัญคํานึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนโดยหลีกเลี่ ยงหลักสูตรที่ เน้นเนื้ อหาวิชาเป็นตัวตั้ง  
1. หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (child – centered designs)
2. หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (experience – centered designs)
3. หลักสูตรแบบจิตนิยม (romantic /radical designs)
4. หลักสูตรมนุษยนิยม (humanistic designs)
หลักสูตรที่ เน้นเนื้ อหาวิชา(subject – centered designs) เป็นหลักสูตรที่เน้นความสําคัญของเนื้ อหาวิชา  การออกแบบหลักสูตรได้รั บอิทธิพลจากปรัชญาการศึกษา  คื อสารัตถะนิยม(essentialism) และ  นิ รันตรนิยม(perennialism)
จากภาพนั้น แสดงให้เห็นถึงความรู้ที่เด็กได้รับนั้นโดยความรู้ที่เด็กได้เรียนเป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันตามปรัชญา สารัจถะนิยม (essentialism)เด็กสามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข กลุ่มนี้จะเน้นที่ความรู้
แบ่งออกเป็น 4 แบบ
1.             หลักสูตรแบบรายวิชา(subject design)
2.             หลักสูตรแบบสาขาวิชา(discipline design)
3.             หลักสูตรหมวดวิชา(broad fields design)
4.             หลักสูตรสัมพันธ์วิ ชา(correlation design)
5.             หลักสูตรเน้นกระบวนการ(process design)
หลักสูตรที่ เน้นปัญหาสังคมเป็นสําคัญ
สามเหลี่ยมรูปนี้เน้นที่ สังคมหรือ Society สามเหลี่ยมในรูปนี้เป็นแนวปรัชญา Reconstructionism  หมายถึงการึกษาไม่ได้เป็นเรื่องของผู้คนแต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสําคัญ(problem – centered designs) เป็นการออกแบบหลักสูตรที่ยึ ดเอาภาระหน้าที่   หรือชีวิตภายในสังคม  สถานการณ์ในสังคมเป็นหลัก เป็นหลักสูตรที่ เน้นสภาพของสังคม  หรือปัญหาของสังคมเป็นตัวตั้ งในการจัดทําหลักสูตร
โดยต้องมีการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชนท้องถิ่นการออกแบบหลักสูตรจัดได้หลายประเภท ดังนี้
1.หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (life – situations designs)
2.หลักสูตรแกน (core designs) เรียกอีกชื่ อหนึ่ งว่า หลักสูตรเน้นภาระหน้าที่ ในสังคม (social function)
3.หลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิ รูปสังคม (social problems and Reconstructionist designs)
อ้างอิงจาก  http://pinayo-ci.blogspot.com/2010/11/blog-post.html

ความมุ่งหมาย (Aim), จุดหมาย(Goals) และจุดมุ่งหมาย(Objective)


ในการพัฒนาหลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง เพราะจะบอกถึงความมุ่งหวังว่าจะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใด  รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมและประสบการณ์เรียนรู้  รวมทั้งการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียน  การกำหนดต้องเหมาะสมสอดคล้องกับปรัชญาและค่านิยมของสังคม สภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและผู้เรียน 
จุดหมาย”  (Aims)  เป็นผลหรือคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
เป้าประสงค์” (Goals) ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับความมุ่งหมาย โดยเป้าประสงค์อาจหมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจากเรียนหลังจากเรยนได้ผู้เรียนจะเป็นเช่นไร
จุดมุ่งหมาย(Objective)  เป็นการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาการศึกษาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะได้รับ
                โดยขั้น กำหนดความมุ่งหมาย เป้าประสงค์และจุดหมายนี้อยู่นทฤษฎีขั้นที่ 1  ของไทเลอร์ คือ 1. กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร

อ้างอิงจาก  www.lamptech.ac.th

การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)


โบชอมป์(Beauchamp)ได้เสนอแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรในเชิงระบบ มีองค์ประกอบ
3 ส่วน ดังนี้
6.1 ปัจจัยนําเข้า (input) ได้แก่พื้นฐานการศึกษา สภาพชุมชน ประสบการณ์เกี่ ยวกั บ
หลักสูตร เนื้ อหาในสาขาต่าง ๆ และค่านิยมพื้นฐานทางสั งคม
6.2 กระบวนการ (process) ได้แก่ การเลือกบุคลากร วิ ธีดําเนินการเพื่ อกําหนด
เป้าหมายหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การนําไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร



6.3 ผลผลิต (output) ได้แก่ หลักสูตรที่เหมาะสมกั บผู้ เรียนในสังคมนั้น ๆ

ทฤษฏีหลักสูตรที่เรื่อง คือ ทฤษฎีของไทเลอร์
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์  แนวคิดในการพัฒนานั้นเริ่มต้นจากคำถามพื้นฐาน ๔ คำถามดังต่อไปนี้
                ๑.      จุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่สถานศึกษาต้องการ
                ๒.     ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถจัดได้และสนองตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
                ๓.     ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นจะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
๔.        จะประเมินได้อย่างไรว่าประสบการณ์การศึกษาที่จัดให้นั้นได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด   
โดยมีรูปแบบการพัฒนามี 3 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
                2. การเลือกประสบการณ์การเรียน : จัดลำดับ ก่อน-หลัง
 3. การประเมินผล
การพัฒนาหลักสูตรนั้น จะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพของสังคม พัฒนาการของผู้เรียน ความเหมาะสม มีการบูรณาการของประสบการต่างๆ มีการประเมินผลในขั้นสุดท้าย
อ้างอิงจากhttp://www.scphub.ac.th/new_ulib/dublin.php?ID=13399121301

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory)


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
    ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
    การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึงการจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
      1. ด้านพุทธิพิสัย  (Cognitive Domain)
      2. ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor Domain)
       3. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (remembering) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้
ความเข้าใจ (understanding)จเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
การประยุกต์ (Applying) เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
การวิเคราะห์ ( Analyzing) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
การประเมินค่า ( Evaluation)เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
การคิดอย่างสร้าสรรค์ (creative) มีการต่อยอดคิดอย่างสร้างสรรค์ต่อยอดความรู้ที่ได้เรียน
จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง  ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม  พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัยจะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
 1.การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎก  ารณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง ...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ... การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า

5. บุคลิกภาพ ... การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆจนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
 พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ  ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้

1.       การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.       กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.       การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4.      การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5.      การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
อ้างอิงจาก  http://www.gotoknow.org/posts/391886

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา,ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม




จากรูป SU MODEL  ที่เป็นตัวอย่างในเรื่องก่อนหน้า ภายในรูปสามเหลี่ยม สังเกตที่รูปสามเหลี่ยมสีฟ้า สามารถถอดออกมาได้เป็นรูปดัง

สามเหลี่ยมรูเหลี่ยมรูปนี้แต่ละด้านประกอบไปด้วย P = Philosophy  ซึ่งอยู่ด้านระหว่าง ผู้เรียนกับความรู้S = social มาจากด้านระหว่าง  สังคมและความรู้P= Psychology มาจากด้านระหว่างผู้เรียนและสังคม รูปสามเหลี่ยมรูปนี้ก่อให้เกิดปรัชญาแบบ Progressivism เป็นปรัชญาแนวก้าวหน้า เน้นความเจริญงอกงามของจิตใจหรือ สมองจากการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในปัจจุบัน หรือที่เป็นความสนใจของผู้เรียน ซึ่งการจัดการศึกษาจะเป็นแบบมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน คือ
1.        มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเองเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข
2.        มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจ และตามความสามารถของผู้เรียน
3.        มุ่งให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตเป็นหมู่คณะ และรู้จักปกครองตนเอง
4.        ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน
5.        มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

                                          
อ้างอิงจาก  ocalcurriculum53.wikispaces.com

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตรจุดประสงค์การเรียนรู้



รูปเเบบ SU  MODEL


องค์ประกอบหลักสำคํญของการจัดหลักสูตรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน มี อยู่ 3 ด้านคือ 1.Learner (ผู้เรียน) 2. Knowledge (ความรู้ สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต) 3. Society โดยทั้งสามด้านนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย สร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมการเรียนรู้
การออกแบบหลักสูตรเป็น 3 ประเภทได้แก่
การออกแบบหลักสูตรที่ เน้นผู้ เรียนเป็นสําคัญ ลักษณะการจัดโครงสร้างหลักสูตรเป็นรายวิชา  เช่น   วิชาภูมิ ศาสตร์ประวัติศาสตร์  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  และภาษาไทย  เป็นต้น 
การออกแบบหลักสูตรที่ เน้นผู้ เรียนเป็นสําคัญ(learner– centered designs)

 เป็นหลักสูตรที่มองถึงประโยชน์ของผู้ เรียนเป็นสําคัญคํานึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนโดยหลีกเลี่ ยงหลักสูตรที่ เน้นเนื้ อหาวิชาเป็นตัวตั้ง   การออกแบบหลักสูตรที่ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญจัดได้หลายประเภท ดังนี้
1. หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (child – centered designs)) เด็กควรจะได้ศึ กษาถึงธรรมชาติ ที่อยู่ แวดล้อมตั วซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของเขาการจัดเนื้อหาของหลักสูตรแบบนี้ จะมีการบูรณาการเนื้ อหาของวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยเน้นไปที่ ประสบการณ์  หรือปัญหาสังคม  ความจําป็นของชีวิต  ทักษะชีวิต  การปรับตัว  และประสบการณ์ตรงของผู้เรียน

2. หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (experience – centered designs)) เน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิ บั ติของผู้เรียน  กิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดขึ้ นตามความสนใจ  และความต้องการของผู้ เรียน  จึงจะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   เกิดการเปลี่ ยนแปลงพฤติกรรมอันจะนําไปสู่การเรียนรู้ และประสบการณ์อื่น  ๆ

3. หลักสูตรแบบจิตนิยม (romantic /radical designs)เน้นความเป็นธรรมชาติของผู้ เรียนให้ความสําคัญของบุคคลแต่ละคนว่าทุกคนมี อิสระในการเลือก สามารถกําหนดชีวิตของตนเองได้เน้นความมีเสรีภาพอันสมบูรณ์และความเป็นเอกัตบุคคลของ แต่ละคน หลักสูตรควรช่วยให้ผู้ เรียนสามารถปรับตัว ตัดสินใจกระทําสิ่ งต่าง ๆ ได้ กล้ายอมรั บในสิ่ งที่ ตนทํา  ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้ นได้

4. หลักสูตรมนุษยนิยม (humanistic designs)เน้นด้านจิตใจ ความเป็นเอกัตบุคคล การพัฒนามโนทัศน์ของตนเองการรู้จั กตนเอง การควบคุมการเรียนรู้ และพฤติกรรมด้วยตนเอง การรู้จักเห็นใจผู้ อื่น นับถือตนเองและผู้อื่นเน้นการพัฒนาจิตพิสัย  ควบคู่ ไปกับพุทธิ พิ สั ย  หลักสูตรจะเพิ่ มทางเลือกให้ผู้ เรียนได้มี

แต่หากสามเหลี่ยมการเรียนรู้อยู่ในรูปลักษณะนี้คือเน้นที่ ความรู้ เป็นหลกปรัชญาแบบ Parennialism หรือ หรือกลุ่มนิรันตรนิยม เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้มุ่งเน้นที่จะสอนความรู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นสัจนิรันกาล ฝึกการคิดวิเคราะห์แต่ต้องคนดีด้วย


การออกแบบหลักสูตรที่ เน้นเนื้ อหาวิชา(subject – centered designs) เป็นหลักสูตรที่เน้นความสําคัญของเนื้ อหาวิชา  การออกแบบหลักสูตรได้รั บอิทธิพลจากปรัชญาการศึกษา  คื อสารัตถะนิยม(essentialism) และ  นิ รันตรนิยม(perennialism)
จากภาพนั้น แสดงให้เห็นถึงความรู้ที่เด็กได้รับนั้นโดยความรู้ที่เด็กได้เรียนเป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันตามปรัชญา สารัจถะนิยม (essentialism)เด็กสามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข กลุ่มนี้จะเน้นที่ความรู้
แบ่งออกเป็น 4 แบบ
1.             หลักสูตรแบบรายวิชา(subject design)ลักษณะการจัดโครงสร้างหลักสูตรเป็นรายวิชา  เช่น   วิชาภูมิ ศาสตร์ประวัติศาสตร์  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  และภาษาไทย  เป็นต้นเป็นหลักสูตรที่ สามารถกําหนดขอบเขตเนื้ อหาในรายวิชานั้ นได้อย่างชัดเจน  ครูมีความคุ้นเคยกับหลักสูตรนี้   จึงสามารถสอนในรายวิชาที่ ตนมีความชํานาญ การบริหารจัดการหลักสูตรทําได้สะดวกไม่ยุ่งยาก ตลอดจนผู้ เรียนได้ความรู้อย่างสมบูรณ์

2.             หลักสูตรแบบสาขาวิชา(discipline design)การออกแบบหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรรายวิชาแต่จะแตกต่างกันที่ หลักสูตรแบบสาขาวิชาจะมี จุดเน้นลุ่มลึกไปในศาสตร์ของแต่ละสาขา  เช่น   สาขาประวัติ ศาสตร์  หลักสูตรจะกําหนดให้ผู้ เรียนเรียนกระบวนการทางประวัติ ศาสตร์การเรียนการสอนจะมุ้งเน้นความคิดรวบยอด  โครงสร้างเนื้ อหา  และกระบวนการ

3.             หลักสูตรหมวดวิชา(broad fields design)นําวิชาที่มี เนื้ อหาสัมพันธ์กัน   มาจัดเข้าไว้ในหมวดวิชาเดียวกัน  เช่น   ภูมิศาสตร์  ประวัติ ศาสตร์  หน้าที่ พลเมือง  ศีลธรรม  รวมอยู่ ในหมวดสังคมศึกษาชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี รวมป็นหมวดวิทยาศาสตร์ เป็นต้นผู้สอนมีการวางแผนการสอนร่วมกัน  กิจกรรมการเรียนการสอนจัดได้กว้างขวางมากขึ้น

4.             หลักสูตรสัมพันธ์วิ ชา(correlation design)เน้นความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชาที่ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการเรียนเป็นรายวิชา

5.             หลักสูตรเน้นกระบวนการ(process design)เน้นกระบวนการหรือทักษะกระบวนการการเรียนการสอนที่ เน้นกระบวนการ จะทําให้ผู้ เรียนสามารถนํากระบวนการนั้ นไปใช้ประโยชน์ในชี วิตประจําวันของเขาได้



การออกแบบหลักสูตรที่ เน้นปัญหาสังคมเป็นสําคัญ
สามเหลี่ยมรูปนี้เน้นที่ สังคมหรือ Society สามเหลี่ยมในรูปนี้เป็นแนวปรัชญา Reconstructionism  หมายถึงการึกษาไม่ได้เป็นเรื่องของผู้คนแต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสําคัญ(problem – centered designs) เป็นการออกแบบหลักสูตรที่ยึ ดเอาภาระหน้าที่   หรือชีวิตภายในสังคม  สถานการณ์ในสังคมเป็นหลัก เป็นหลักสูตรที่ เน้นสภาพของสังคม  หรือปัญหาของสังคมเป็นตัวตั้ งในการจัดทําหลักสูตร
โดยต้องมีการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชนท้องถิ่นการออกแบบหลักสูตรจัดได้

                โดยรูปสามเหลี่ยมจะแบ่งออกเป็น 4 รูป ตามหลักทฤษฎีของไทเลอร์ คือ
1. Planning จุดประสงค์ทางการศึกษา การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
2. Design    การออกแบบการเรียนรู้ตามลักษณะของผู้เรียน
3. Organization การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
4. Evaluationจะประเมินผลได้อย่างไรว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิผล?
การออกแบบหลักสูตรนั้นเพื่อเราจะทำให้หลักสูตรเป็น World Class Education เราจำเป็นต้องคำนึงถึง
·         หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles of curriculum design)
1.        Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข)
2.        Breadths (ความกว้าง) คือ หลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้
3.        Progressions (ความก้าวหน้า) คือ หลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา
4.        Depths (ความลึกซึ้ง) คือ หลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง
5.        Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือ หลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
6.        Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือ เนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
7.        Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือ หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเอง
·         ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3Rs+7Cs)
3 R  คือ      Reading (อ่านออก)   Writing (เขียนได้)   Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7 C คือ
1.        Critical Thinking & Problem solving  คือ ทักษะในการคิดวิเคราะห์
2.        Creativity & Innovation คือ ทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว
3.        Cross-Cultural understanding คือ ทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในสังคมโลก
4.        Collaboration Teamwork & leadership คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม
5.        Communication information and media literacy  คือ ความสามารถในการสื่อสาร
6.        ICT literacy  คือ ความสามารถใช้เครื่องเทคโนโลยี
7.        Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ
·         สี่เสาหลักของการศึกษา (The four Pillars of Education)
1.        การเรียนเพื่อรู้  (Learning to Know)
2.        การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง  (Learning to Do)
3.        การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน  (Learning to Live Together)
4.        การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be)

อ้างอิงจาก kruamm.files.wordpress.com









นิยาม ความหมาย ของหลักสูตร (Defining Curriculum)


มาจากคำภาษาละตินว่า Racecourse แต่เมื่อนำมาใช้ในทางการศึกษาคำว่าหลักสูตร มีความหมายได้หลายอย่างแต่เดิมมีความหมายว่าเป็นรายการกระบวนการวิชาการ ต่อมาคำนี้ได้ขยายออกไปขยายมากขึ้นนักพัฒนาหลักสูตรที่มีความเชี่ยวชาญจะสามารถอธิบายความหมายได้กว้างกว่านักพัฒนาหลักสูตรที่มีแนวคิดดั้งเดิม ซึ่งมักจะให้ความหมายของหลักสูตรแคบๆเช่นที่กล่าวมาแล้ว ความหมายหลักสูตรที่มาจากคนๆเดียวอาจมีมากมาย ตัวอย่างเช่นหลักสูตรคือแผนการเรียน หรือ อาจหมายถึงหลักสูตรประกอบด้วยเป้าหมาย และจุดประสงค์เฉพาะที่จะนำเสนอและจัดการเนื้อหา ซึ่งจะรวมถึงแบบของการเรียนการสอนตามจุดประสงค์และท้ายที่สุดจะต้องมีการประเมินผลลัพธ์ของการเรียนนักการศึกษาหลายคนมักจะให้ความหมายของหลักสูตรว่าเป็นแผนการจัดกิจกรรมส่วน เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor & Alexander,1966:5) อธิบายความแตกต่างระหว่างแผนการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนได้ดำเนินการจริงไว้ว่า หลักสูตรคือกิจกรรมทั้งมวลที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนและการวางแผนหลักสูตรเป็นการเตรียมการให้โอกาสกับผู้เรียน ซึ่งอาจกล่าวสรุปว่า คู่มือหลักสูตรก็คือการวางแผนหลักสูตรนั้นเองนอกจากนั้นได้มีผู้ให้นิยามศัพท์คำว่า หลักสูตรไว้ต่างๆกันดังนี้
สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนหลักสูตรว่า  การพัฒนาตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Developmentมีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้นการทำให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่
ทาบา (Taba) การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
กู๊ด (Good)การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม

                                             
อ้างอิงจาก  http://dhavajchai.blogspot.com/